วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

การเขียนรายงานที่ดี

การเขียนรายงานที่ดี


ความหมายของรายงาน
        รายงาน  คือ  การเขียนเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นหรือได้กระทำมาแล้ว   เช่น  การค้นคว้า ทางวิชาการ  การไปศึกษานอกสถานที่  การไปพักแรมค่ายเยาวชน  การประชุมกลุ่ม  การประสบเหตุการณ์ที่สำคัญ  เป็นต้น
        ลักษณะของรายงานคล้ายย่อความ คือเก็บเฉพาะข้อความสำคัญแต่อาจ เพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างได้ตามสมควร แบบการเขียนรายงานไม่มีข้อกำหนดตายตัว  เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  อาจกำหนดตามแบบของแต่ละสถาบัน

         


ส่วนต่าง ๆ ของรายงาน  มี  3  ส่วน  ดังนี้
        1.  ส่วนหน้า  ประกอบด้วย  หน้าปก  ใบรองปกหน้า  (กระดาษเปล่า)  หน้าปกใน  หน้าคำนำ  หน้าสารบัญ
        2.  ส่วนกลาง  ประกอบด้วย  เนื้อเรื่อง  เชิงอรรถ
        3.  ส่วนท้าย  ประกอบด้วย  บรรณานุกรม  ภาคผนวก  ใบรองปกหลัง (กระดาษเปล่า)  ปกหลัง


การเขียนส่วนต่าง ๆ ของรายงานแต่ละส่วน
        1.  การเขียนปกรายงานและการเขียนหน้าปกใน 
             1.1  การเขียนปก  ให้เขียนชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน  กลางหน้ากระดาษ  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน 
             1.2  การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น  3  ส่วน  ดังนี้

                    ส่วนบน  ให้เว้นระยะ  2  นิ้ว  จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน  ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  

                    ส่วนกลาง  เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ  2  บรรทัดใส่คำว่าโดย  และชื่อผู้เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า  ผู้เขียนรายงาน
                    ส่วนล่าง  ให้เว้นระยะ  1  นิ้ว  จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง  บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด  ใครเป็นครูผู้สอน


        2.  การเขียนคำนำ
             การเขียน “คำนำ” อยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว ผู้เขียนรายงานจะระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อเรื่อง   หรือแนวการค้นคว้า   และคำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้ การค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียงรายงานนั้นให้สำเร็จลงด้วยดี เมื่อหมดข้อความแล้วลงชื่อผู้เขียน วัน  เดือน ปี  ที่เขียน  ถ้าเป็นรายงานกลุ่มเขียนคำว่า คณะผู้จัดทำ หน้าคำนำมักนิยมใส่เลขหน้าในวงเล็บไว้ด้านล่าง


        3.  การเขียนสารบัญ
             การเขียน  “สารบัญ”  ผู้เขียนรายงานจะแบ่งเป็นบท  เป็นตอนระบุเนื้อเรื่องที่ปรากฏในรายงาน เรียงตามลำดับ การเว้นระยะในการเขียนจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว  และข้อความในสารบัญ จะอยู่ห่างจากริมซ้ายของกระดาษเข้าไป  1.1  นิ้ว  เริ่มตั้งแต่ คำนำ  บท  และ ชื่อของบท จนถึงส่วนท้าย คือบรรณานุกรม และภาคผนวก เลขหน้าทางด้านขวามือจะอยู่ห่างจากขอบขวาของกระดาษ 1.1 นิ้ว ผู้เขียนรายงานต้องทำรายงานเรียบร้อยแล้วจึงจะระบุเลขหน้าได้ว่า บทใด  ตอนใด  อยู่หน้าใด



การนำบัตรข้อมูลที่บันทึกตามโครงเรื่องมาเขียนเนื้อหาของรายงาน
        การเขียนเนื้อเรื่อง  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด   เพราะผลการค้นคว้ารวบรวมทั้งหมดที่บันทึก ลงในบัตรบันทึกข้อมูลจะนำมาเรียบเรียงไว้ในส่วนนี้ เรียงตามลำดับโครงเรื่องที่ปรากฏในสารบัญ ครอบคลุมตั้งแต่บทแรกถึงบทสุดท้าย ในหน้าแรกของเนื้อเรื่องไม่ต้องใส่เลขหน้าเว้นจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมา 2 นิ้ว  ไว้กลางหน้ากระดาษ   ทุกครั้งที่ขึ้นบทใหม่ไม่ใส่เลขหน้าเฉพาะหน้านั้นแต่ให้นับหน้าด้วย การเว้นระยะจากขอบล่างขึ้นมา  ให้เว้น  1 นิ้ว  จากขอบซ้ายของหน้ากระดาษเข้ามาเว้น  1.5  นิ้ว  จากขอบขวาของหน้ากระดาษเข้ามา  เว้น  1 นิ้ว  ส่วนการย่อหน้าทุกครั้งให้เว้น 6  ช่วงตัวอักษร  เขียนตัวที่  7


การทำบรรณานุกรมท้ายเล่ม
        การลงบรรณานุกรม  หากมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ลงภาษาไทยก่อน  เรียงตามลำดับประเภท  และในแต่ละประเภทเรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง   หรือเรียงตามลำดับอักษรรวมกันไม่แยกประเภท





ความหมายของบรรณานุกรม
        บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง

จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม
        1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ
        2.  เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
        3.  เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้น ๆ 
        4.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้


วิธีเขียนบรรณานุกรม
        การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ  ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม  การเขียนบรรณานุกรมจากวารสาร นำข้อมูลจากหน้าปก ของวารสารฉบับที่บันทึกข้อมูล มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือพิมพ์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากสื่ออีเล็กทรอนิกส์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจมาเขียนบรรณานุกรม    ดังนี้
        1.  เขียนไว้ในส่วนท้ายของรายงาน
        2.  เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
        3.  บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา  1.5  นิ้ว  ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ  7  ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก  ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่  8 
        4.  รายละเอียดในโครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ   มีดังนี้

1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ

    1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง           1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว

           1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2

           1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3

           1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ

           1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง

           1.1.6  ผู้แต่งใช้นามแฝง  ให้ใช้นามแฝงได้เลย

           1.1.7  หนังสือแปล  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุลของผู้แต่ง ก่อนผู้แปล

           1.1.8  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์

    1.2  รูปแบบของบรรณานุกรมหนังสือ 

           รูปแบบของบรรณานุกรม  มี  2  แบบ 

           1.2.1  การอ้างอิงแยกจากเนื้อหาอยู่ท้ายของรายงาน   
                     1)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ในหนังสือเล่มเดียวจบ    ให้ใส่ชื่อบท หรือตอน  ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  และระบุหน้า  เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์



                     2)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ของหนังสือบางเล่มที่มีหลายเล่มจบ ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  ระบุเล่ม  และหน้าตามด้วยเลขหน้าที่อ้างอิง เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

                     3)  การอ้างอิงตลอดทุกเล่มที่มีหลายเล่มจบ  ให้ระบุจำนวนเล่ม ตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

                     4)  การอ้างอิงเพียงเล่มใดเล่มหนึ่ง  ให้ระบุเล่มที่อ้างอิงตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

           1.2.2  การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา                     1)  เมื่อต้องการจะแทรกในเนื้อหาสามารถแทรกวงเล็บพร้อมกับอ้างอิงได้ทันที  เมื่อจบข้อความ                          1.1)  รายการอ้างอิง  ประกอบด้วย  ชื่อ  นามสกุลผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.2)  หากไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อหน่วยงานแต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.3)  หากไม่ระบุปีที่พิมพ์  และเลขหน้า  ให้ใช้ตัวอักษรย่อ  “ม.ป.ป.”  ย่อมาจากคำว่า  ไม่ปรากฏเลขหน้า  และระบุคำว่า  ไม่มีเลขหน้าลงไปได้เลย

                     2)  ถ้าระบุชื่อผู้แต่งลงในเนื้อหาแล้วอ้างต่อทันทีในวงเล็บ  ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้แต่งซ้ำอีก

                     ยกเว้นผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ

                     3)  การอ้างถึงเอกสารที่ไม่สามารถค้นหาต้นฉบับจริงได้  ให้อ้างจากเล่มที่พบ  ใช้คำว่า  “อ้างถึงใน”  หากเป็นบทวิจารณ์  ใช้คำว่า  “วิจารณ์ใน”

                     4)  การอ้างถึงเฉพาะบท  ใช้คำว่า  “บทที่”

                     5)  การอ้างถึงตาราง  ในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูตารางที่”  การอ้างถึงภาพในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูภาพที่”

2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร

    2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่

    2.2  บทความในวารสาร  ที่ไม่มีปีที่  ออกต่อเนื่องทั้งปี

3. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์

    3.1  การเขียนบรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์

    3.2   การเขียนบรรณานุกรมข่าวจากหนังสือพิมพ์  ให้เขียนหัวข่าว

    3.3  การเขียนบรรณานุกรมจากคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์

4. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต
    4.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ

    4.2  เว็บเพจไม่ปรากฏผู้เขียน  และปีที่จัดทำ ใส่  ม.ป.ป.  (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)



ขอขอบคุณข้อมูล

การเขียนรายงาน( ม ป ป)

(วันที่ค้นข้อมูล 23 กันยายน 2556 )
 
การเขียนบรรณานุกรม
จากเว็บไซต์


(วันที่ค้นข้อมูล 23 กันยายน 2556 )



วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ขบวนการชาตินิยมในอินเดีย

อินเดีย-ประวัติศาสตร์ที่ต้องศึกษา
ขบวนการชาตินิยมและการต่อสู้เพื่อเอกราช

      ขบวนการชาตินิยมของอินเดียเริ่มเติบโตตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งองค์กรชาตินิยมที่มีบทบาทในฐานะปากเสียงของประชาชน ได้แก่ คองเกรสแห่งชาติอินเดีย (Indian National Congress) ซึ่งเปิดประชุมครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๘๘๕ ที่บอมเบย์ซึ่งเริ่มแรกมีผู้เข้าประชุมเพียง ๗๐ คนจากนั้นก็มีการประชุมทุกๆปีและมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าองค์กรนี้จะตั้งโดยชาวฮินดูผู้มีการศึกษาและชาวอังกฤษผู้มีเป็นธรรมอีกทั้งยังมีชาวมุสลิมที่สนใจเข้าร่วมด้วย จุดประสงค์ของคองเกรสในตอนแรกคือยืนยันที่จะ ตอบคำถามที่ว่าอินเดียยังไม่เหมาะที่จะมีสถานบันผู้แทนไม่ว่ารูปแบบใดๆทั้งสิ้นแต่ก็ดูเหมือนจะเลื่อนลอยในการที่จะให้มีการปกครองแบบสภา เพราะสมาชิกคองเกรสส่วนใหญ่ยังจงรักภักดีต่ออังกฤษ

      ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ ๒๐ มีนักเคลื่อนไหวชาตินิยมรุ่นแรกเช่น ดาดาภัย เนาโรจิ นักธุรกิจชาวอินเดียที่อยู่ในลอนดอนเป็นเวลานาน จนได้รับเลือกเข้าไปนั่งในสภาสามัญของอังกฤษในนามพรรคเสรีนิยม เขาได้รับแต่งตั้งให้เข้าไปตรวจสอบการบริหารการคลังของอังกฤษในอินเดีย นักชาตินิยมคนต่อมาคือ เอ็ม จี รานาด เนื่องจากเขาเป็นผู้พิพากษาจึงไม่ได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเขามีความเห็นว่าอินเดียต้องนำระบบอุตสาหกรรมมาใช้ภายใต้การช่วยเหลือของอังกฤษ ลูกศิษย์ของเขาก็มีส่วนในการทำให้อังกฤษต้องลดภาษีและปรับปรุงการคลังให้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามบุคคลเหล่านี้จัดว่าเป็นสายกลาง (moderates) เห็นได้จากการที่พวกเขายอมรับการปกครองของอังกฤษและพยายามให้อังกฤษปรับปรุงสิ่งที่พวกตนเรียกร้องให้ดีขึ้น

     หลังจาก ค.ศ. ๑๙๐๐ เป็นต้นมา คองเกรสแห่งชาติอินเดียก็แยกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายสายกลาง กับฝ่ายรุนแรง ฝ่ายหัวรุนแรงนำโดย บัล กันกาธาร์ ติลัก ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องอย่างละมุนละม่อมของพวกสายกลาง ฝ่ายนี้ต้องการให้การให้เกิดความปั่นป่วนแก่อังกฤษ รวมทั้งใช้กำลังและก่อการร้ายหากจำเป็น ติลักมาจากวรรณะพราหมณ์แห่งเมืองปูนา เขาเป็นนักปฏิรูปที่นิยมการต่อสู้ ต้องการฟื้นฟูศาสนาฮินดูและประเพณีกลับคืนมาเพื่อเรียกร้องการสนับสนุนจากมวลชน ทำให้ขบวนการชาตินิยมกระจายไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ เขายังได้ต่อสู้เพื่อให้กรรมกรได้ค่าแรงขั้นต่ำ เรียกร้องเสรีภาพขององค์การสหภาพการค้า การตั้งกองทัพประชาชน การให้การศึกษาแก่ประชาชนโดยไม่เก็บเงิน ติลักมีความคิดเหมือนคานธีในแง่ที่ว่าประชาชนอินเดียไม่ควรให้ความร่วมมือกับอังกฤษ แต่ต่างกันตรงที่ติลักต้องการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับอังกฤษ การกระทำของติลักทำให้ขบวนการชาตินิยมได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น เขาถูกจำคุกในปี ๑๙๐๘-๑๙๑๔

ส่วนผู้นำสายชาตินิยมสายกลางได้แก่ โคปาลา กฤษณา โกเคล ท่านผู้นี้คานธีนับถือเป็นครูของเขา เพราะโกเคลมีความสนใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อคองเกรสและกำหนดทิศทางให้อินเดียเป็นรัฐสวัสดิการภายหลังได้รับเอกราช

แบ่งแยกเพื่อเข้าปกครอง

    ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ ๒๐ ขบวนการชาตินิยมนำโดยติลักได้ขยายตัวจากภาคตะวันตกไปยังแคว้นเบงกอลทางตะวันออก ซึ่งการขยายตัวอย่างรวดเร็วมีส่วนหนึ่งมาจากปฏิวัติในรัสเซียในปี ๑๙๐๕ และในปีนั้นญี่ปุ่นก็ทำสงครามชนะกองทัพเรือของรัสเซีย ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าชาวเอเชียไม่ได้ด้อยกว่าชาวตะวันตก ซึ่งในปีนั้นเช่นกันอุปราชอังกฤษประจำอินเดียได้ออกกฎหมายแบ่งแคว้นเบงกอลออกเป็น ๒ ส่วนซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวเบงกาลี(ชาวเบงกอล) เป็นอย่างมาก การแบ่งเบงกอลออกเป็นสองส่วนทำให้ฟากตะวันออกมีคนมุสลิมส่วนใหญ่มีคนฮินดูเป็นส่วนน้อย และฟากตะวันตกก็กลับกันคือมีคนฮินดูเป็นส่วนมากมีคนมุสลิมเป็นคนส่วนน้อย

  ขบวนการชาตินิยมกล่าวว่าอังกฤษต้องการแบ่งเบงกอลออกเป็นสองส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย     Divide and rule (แบ่งแยกเพื่อปกครอง) คือทำให้ชาวเบงกอลแตกสามัคคีกัน เพื่อลดอิทธิพลของขบวนการชาตินิยมและปราบปรามการฟื้นฟูทางสติปัญญาซึ่งเริ่มตื่นตัวขึ้นมากในเบงกอลตั้งแต่ คริสตศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา

   การแบ่งแยกเบงกอลเป็นสองส่วนทำให้ขบวนการชาตินิยมรวมเป็นอันหนึ่งเดียวกันทั่วประเทศอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน กลุ่มนี้ได้ต่อสู้กับรัฐบาลอย่างเข้มแข็งภายใต้คำขวัญ สวราชซึ่งหมายถึงการปกครองตนเองภายใต้จักรวรรดิอังกฤษความรู้สึกชาตินิยมอย่างรุนแรงจากปัญหาการแบ่งแยกเบงกอล ทำให้กลุ่มหัวรุนแรงมีอิทธิพลในการประชุมคองเกรสแห่งชาติอินเดียในปี ค.ศ. ๑๙๐๖

   นักชาตินิยมหัวรุนแรงบางคนได้ใช้การต่อสู้อย่างรุนแรงตามแบบการก่อการร้ายใต้ดินไอร์แลนด์และในรุสเซีย การก่อการร้ายมีความรุนแรงมากขึ้นในช่วง ๑๙๐๖-๑๙๐๙ ทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องแก้ไขโดยออก พ.ร.บ.การปฏิรูปมอร์เลย์-มินโต ในปี ๑๙๐๙ และในปี ๑๙๑๑ อังกฤษก็ยกเลิกการแบ่งแยกเบงกอล ทำให้ชาวอินเดียเห็นว่าการใช้ความรุนแรงสามารถบีบบังคับให้รัฐบาลยอมจำนนได้ แต่การปฏิรูปดังกล่าวอังกฤษไม่ได้ทำเพื่อให้อินเดียมีการปกครองตนเอง แต่เป็นอุบายหนึ่งที่จะทำให้ขบวนการหัวรุนแรงแตกแยกกัน โดยที่อังกฤษยอมอนุญาตให้อินเดียมีการเลือกตั้งผู้แทนในขอบเขตจำกัด แต่อำนาจเด็ดขาดและการตัดสินใจขั้นสุดท้ายอยู่ที่อังกฤษ

    วิธีการดังกล่าวได้รับความสำเร็จ เพราะทำให้นักชาตินิยมสายกลางกลับมามีอำนาจในคองเกรสอีกครั้งหนึ่ง มีมติ แสดงความพอใจโดยทั่วไปและอย่างลึกซึ้งต่อการปฏิรูปดังกล่าวการต่อต้านอังกฤษยังลดความรุนแรงลงอีกใน ค.ศ. ๑๙๑๑ เมื่ออังกฤษยกเลิกการแบ่งแยกแคว้นเบงกอล ปล่อยนักโทษการเมืองที่สำคัญๆ และให้เงินจำนวนหนึ่งเพื่อพัฒนาการศึกษาของอินเดีย

     สรุปว่าตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๙ มาถึง ค.ศ. ๑๙๑๔ ขบวนการชาตินิยมของอินเดียประกอบด้วยปัญญาชนเป็นส่วนใหญ่ และคองเกรสแห่งชาติอินเดียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลา ๒๕ ปี ตั้งแต่ตั้งคองเกรสในปี ค.ศ. ๑๘๘๕ สมาชิกคองเกรสแห่งชาตินอกจากจะมาจากแคว้นเบงกอลและเมืองทางชายฝั่งตะวันตกแล้ว ยังมาจากส่วนต่างๆของบริติชอินเดียอีกด้วย สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือขบวนการนี้เป็นขบวนการของชนชั้นกลาง ซึ่งประกอบด้วยนักกฎหมาย นักหนังสือพิมพ์ ครู อาจารย์ และพ่อค้า คนเหล่านี้คุ้นเคยกับแนวความคิดของนักปราชญชาวตะวันตก เช่น จอห์น สจ๊วต มิล เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ และชาร์ลส์ ดาร์วิน ซึ่งเป็นนักปรัชญาเสรีนิยมที่มีอิทธิพลในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ แต่มักไม่เข้าใจปัญหาและความต้องการของชาวอินเดียส่วนใหญ่ในชนบทซึ่งได้แก่ ความยากจนและความอัตคัดขัดสน จึงเกิดช่องว่างอย่างมากระหว่างคนสองกลุ่มดังกล่าว จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อมหาตมะ คานธีสามารถทำให้ขบวนการชาตินิยมเป็นขบวนการของมวลชนอย่างแท้จริง

สันนิบาตมุสลิม

  ลักษณะอีกประการหนึ่งของขบวนการชาตินิยมในระยะแรก คือ การที่ชาวฮินดูเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในคองเกรสแห่งชาติอินเดีย ทำให้ชาวมุสลิมส่วนมากไม่มีส่วนร่วมด้วย มุสลิมภายใต้การนำของเซอร์ เซยิด อาเหม็ด ข่าน จึงมีความรู้สึกว่าหากคองเกรสแห่งชาติสามารถเรียกร้องการปกครองแบบมีผู้แทนได้สำเร็จ พวกมุสลิมก็จะกลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบตลอดไป ชาวมุสลิมยังรู้สึกตื่นตระหนกในพลังอันเข้มแข็งของลัทธิชาตินิยมฮินดูมากขึ้นทุกที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้รักชาติชาวฮินดูบางคนกล่าวถึงมุสลิมว่าเป็น ชาวต่างชาติชาวมุสลิมจึงได้จัดตั้ง สันนิบาตมุสลิม (Moslem League) เพื่อป้องกันตนเองจากความระแวงสงสัยดังกล่าว ทางฝ่ายอังกฤษเองก็พร้อมที่จะต้อนรับและสนับสนุนสันนิบาตมุสลิม เพื่อถ่วงดุลกับคองเกรสแห่งชาติอินเดีย

   อย่างไรก็ตามการก่อตั้งสันนิบาตมุสลิมก็ไม่ได้เกิดจากการวางแผนของอังกฤษ แต่เป็นผลจากการดำเนินกลยุทธ์ที่ผิดพลาดของผู้นำชาตินิยมฮินดูอย่างเช่น ติลัก ซึ่งเน้นการฟื้นฟูศาสนาฮินดูเพื่อกระตุ้นความรักชาติของประชาชน ซึ่งกลับทำให้มุสลิมถูกกีดกันออกไป มุสลิม



ขอขอบคุณข้อมูล 
ขบวนการชาตินิยมในอินเดีย 

สงครามฝิ่น


สงครามฝิ่น 
  (จีนตัวเต็ม鴉片戰爭จีนตัวย่อ鸦片战争พินอินYāpiàn Zhànzhēng ยาเพี่ยนจ้านเจิง; อังกฤษOpium Warsฝิ่นเป็นยาเสพย์ติดที่ชาวจีนติดกันอย่างงอมแงมและติดกันมานาน ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้น (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光) ปีที่ 19 พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวี เป็นผู้ตรวจราชการสองมณฑล ขึ้นเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน




เริ่มกระบวนการปราบปรามฝิ่น

หลินเจ๋อสวีเริ่มงานด้วยการห้ามค้าฝิ่นในมณฑลกวางตุ้ง และจับพ่อค้าฝิ่นชาวจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดไปคุมตัวในเรือนจำ ใครที่มีหลักฐานว่าค้าฝิ่นจะต้องถูกประหาร และตัดศีรษะเสียบประจาน เพื่อข่มขู่ชาวจีนอื่น ๆ ให้เกรงกลัวจะได้ไม่กล้าค้าฝิ่นอีก นอกจากปราบปรามการค้าฝิ่นในหมู่ชาวจีน หลินเจ๋อสวี ยังได้พยายามฟื้นฟูสุขภาพชาวจีนที่ติดฝิ่น โดยจัดโครงการรณรงค์การอดฝิ่น มีชาวจีนหลายคนที่อดฝิ่นได้สำเร็จ ทางการก็จะประกาศเกียรติคุณ เพื่อให้คนอื่น ๆ เอาเป็นแบบอย่างอันดีที่จะพยายามเลิกฝิ่นให้ได้ จากนั้นหลินเจ๋อสวีก็สั่งห้ามเรือพ่อค้าต่างชาติที่บรรทุกฝิ่นเข้ามาในอาณาจักรจีน โดยห้ามเรือล่องเข้าแม่น้ำจูเจียงมาเป็นเด็ดขาด และประกาศให้พ่อค้าต่างชาติที่มีฝิ่นในครอบครอง ต้องนำฝิ่นมาส่งมอบให้ทางการจีน แต่พ่อค้าชาวต่างชาติไม่สนใจคำสั่งของหลินเจ๋อสวี ยังคงค้าฝิ่นต่อไป หลินเจ๋อสวีจึงสั่งปิดล้อมย่านการค้าของคนต่างชาติใน และบีบให้พ่อค้าต่างชาติส่งฝิ่นให้ทางการจีน หลังจากปิดล้อมอยู่สองวัน พวกพ่อค้าต่างชาติก็ยอมมอบฝิ่นออกมาในที่สุด ฝิ่นที่ยึดได้ครั้งนี้ หลินสั่งให้เอาฝิ่นทั้งหมดไปละลายกับกรดน้ำส้มกับเกลือและน้ำ เพื่อฆ่าฤทธิ์ของฝิ่น แล้วก็โยนทิ้งทะเลไปจนหมดสิ้น ผลจากการปราบปรามฝิ่นอย่างจริงจังของหลินเจ๋อสวี ทำให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อค้าอังกฤษที่มีผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นมหาศาลไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะฝิ่นที่หลินเจ๋อสวีทำลายไปมีจำนวนมหาศาลถึง 20,000 ลัง คิดเป็นน้ำหนักสองล้านปอนด์ครึ่ง และเนื่องจากฝิ่นเป็นสินค้าที่มีค่าสูง จึงยังมีพ่อค้าต่างชาติทั้งชาวอังกฤษและโปรตุเกส ยังคงลอบค้าฝิ่น แต่เปลี่ยนฐานการค้าจากตัวแผ่นดินใหญ่ในมณฑลกวางตุ้ง ไปอยู่ที่มาเก๊า และเกาะฮ่องกง ซึ่งมีทำเลดีกว่าแทน
การกระทบกระทั่งระหว่างจีนกับอังกฤษยังคงมีต่อมา เมื่อชาวจีนถูกกะลาสีเรือชาวอังกฤษฆ่าตายที่เกาลูน หลินเจ๋อสวีให้ทางอังกฤษส่งตัวกะลาสีที่ก่อเหตุมารับโทษตามกฎหมายจีน แต่กัปตันเอลเลียตของอังกฤษปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ผลจากการกระทบกระทั่งกันครั้งนี้ ทำให้หลินเจ๋อสวีขับไล่ชาวอังกฤษทั้งหมดออกจากมาเก๊า แต่พ่อค้าเหล่านี้ก็ไปตั้งหลักที่ฮ่องกงแทน กัปตันเอลเลียต ขอความช่วยเหลือไปทางรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษในยุคของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นยุคสมัยของการล่าอาณานิคม ถือเป็นเหตุในการทำสงครามกับจีน โดยเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยสั่งให้บริษัทอีสต์อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลอังกฤษ ส่งกองเรือไปช่วยที่ฮ่องกง เมื่อกองเรือรบกองแรกมาถึงซึ่งประกอบไปด้วยเรือปืนจำนวน 28 ลำ หลินเจ๋อสวีไม่เคยมีประสบการณ์กับการรบกับอาวุธที่ทันสมัยเช่นนี้ จึงถูกโจมตีจนกองเรือจีนพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว หนำซ้ำพวกขุนพลของจีนที่สู้แพ้อังกฤษ ยังไม่กล้ารายงานสถานการณ์ตามความเป็นจริง ทำให้หลินเจ๋อสวีเข้าใจผิดว่ากองเรือของจีนเอาชนะกองเรืออังกฤษได้ จึงถวายรายงานกับพระจักรพรรดิเต้ากวงว่า จีนได้รับชัยชนะ และยิ่งแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อพวกอังกฤษยิ่งขึ้น ในที่สุด ในปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ฝ่ายกองเรือรบอังกฤษก็บุกเข้าปากแม่น้ำจูเจียง และยึดเมืองกวางซูเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งเคลื่อนกองเรือรุกเข้ามาในแผ่นดินจีนขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังส่งกองเรือจำนวนหนึ่งไปยึดเมืองท่าริมทะเลเอาไว้ด้วย ความทราบถึงพระจักรพรรดิเต้ากวง จึงทรงตำหนิหลินเจ๋อสวีอย่างรุนแรง และปลดหลินเจ๋อสวีจากตำแหน่งทั้งหมด เนรเทศไปยังซินเจียง และส่งแม่ทัพฉีซานมาแทน ฉีซานไม่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของอังกฤษได้
ในปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) กองทัพอังกฤษบุกเข้ายึดเมืองนานกิงได้ จนกระทั่งในที่สุดจำเป็นต้องเจรจาสงบศึกกับอังกฤษ ที่เมืองนานกิงนั่นเอง และยอมเซ็นสนธิสัญญาที่ชาวจีนถือว่าอัปยศที่สุด ที่เรียกว่าสนธิสัญญานานกิงในปีเดียวกันนั้น เนื้อหาในสนธิสัญญาฉบับนี้ อังกฤษบังคับให้จีนเปิดเมืองท่าตามชายทะเลเพื่อค้าขายกับอังกฤษ รวมทั้งขอสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนจีน คนที่ถือสัญชาติอังกฤษ จะไม่ต้องขึ้นศาลจีน รวมทั้งสิทธิใด ๆ ที่อังกฤษได้ ต่างชาติอื่น ๆ ก็ต้องได้ด้วย แม้ว่าเนื้อหาของสนธิสัญญานี้ จีนต้องเสียเปรียบอังกฤษเป็นอย่างมาก แต่จีนก็จำต้องเซ็นสัญญาเพื่อยุติสงครามที่จีนเสียเปรียบอย่างเทียบไม่ติด ต่อมาจีนก็สูญเสียเอกราชบนคาบสมุทร เกาลูนไปอีก ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ตามสนธิสัญญาปักกิ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง (咸丰) ปีที่ 10 และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) ตรงกับรัชกาลจักรพรรดิกวังซวี่ (光緒帝) ปีที่ 24 สูญเสียพื้นที่เขตดินแดนใหม่ (New Territories) ให้กับสหราชอาณาจักรในสัญญาเช่า 99 ปี นับแต่นั้น เซินเจิ้นและฮ่องกงก็ถูกแบ่งแยกการปกครองออกจากกัน และภายใน พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) คนจีนกว่า 13 ล้านคน ยังคงติดฝิ่นอยู่ เศรษฐกิจของจีนถูกทำลายลงอย่างย่อยยับจากการที่จีนต้องนำเข้าฝิ่นเป็นจำนวนมากมายมหาศาลและราชวงศ์ชิงก็ตกอยู่ในภาวะแห่งการล่มสลาย




ขอขอบคุณข้อมูล
สงครามฝิ่น   (ม ป ป)
จากเว็ปไซด์    http://th.wikipedia.org/wiki/
( วันที่ 23 กันยายน 2556 )

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

Palestine Liberation Organization (องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์)

 Palestine Liberation Organization

 (PLO  องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์)

          



ประวัติ

           เป็นองค์กรที่ถูกสร้างขึ้นในปี 1964 โดยมีวัตถุประสงค์ของการสร้างความเป็นอิสระของ รัฐปาเลสไตน์ . 
เป็นที่ยอมรับว่าเป็น "ตัวแทนถูกต้องตามกฎหมาย แต่เพียงผู้เดียวของ ปาเลสไตน์"โดยกว่า 100 รัฐด้วยซึ่งจะถือความสัมพันธ์ทางการทูต, และมีความสุขสถานะการณ์ที่ สหประชาชาติ ตั้งแต่ปี 1974  PLO ได้รับการพิจารณาโดยสหรัฐอเมริกาและอิสราเอลจะเป็นองค์กรก่อการร้ายจนกว่าการประชุมมาดริด ในปี 1991 ในปี 1993, PLO ได้รับการยอมรับของอิสราเอล สิทธิ์ที่จะอยู่ ในความสงบได้รับการยอมรับ สหประชาชาติมติคณะมนตรีความมั่นคง 242 และ 338 และปฏิเสธ "ความรุนแรงและการก่อการร้าย"ในการตอบสนอง, อิสราเอลอย่างเป็นทางการได้รับการยอมรับ PLO ในฐานะตัวแทนของ ชาวปาเลสไตน์






 ผู้นำองค์กร








 ผลการดำเนินงานขององค์กร








 ผลกระทบ





 ความสัมพันธ์กับไทย





ขอบคุณข้อมูล
องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์
จากเว็ปไซด์
 https://www.google.co.th/searchhttp://www.slideshare.net/sindybluerose/plo-palestine-liberation-organization
http://th.wikipedia.org/wiki